ระบุแนวโน้มทิศทางตลาด Forex ด้วยค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ MA
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Averages) ถูกใช้มาตั้งแต่เริ่มมีการวิเคราะห์ทางเทคนิคเกิดขึ้นบนโลก
และอาจจะเป็นการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ยังคงมีความนิยมมากที่สุดตั้งแต่ในอดีตจนมาถึงปัจจุบัน
ตลาด Forex ก็เช่นเดียวกัน
ไม่สามารถหลุดรอดจากเงื้อมมือของเจ้าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตัวนี้ไปได้
ในส่วนนี้เรามาทำความรู้จักค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่(MA) เพิ่มเติมกันว่ามัน
คืออะไร และใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของ Forex (Forex
Moving Averages) คือการนำเอาข้อมูลของอัตราแลกเปลี่ยนในอดีต ณ
ช่วงเวลาหนึ่งๆ มาคำนวณหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ โดยอาจใช้ข้อมูลจากราคาปิด ราคาเปิด
ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด หรือแม้กระทั่งนำเอาค่าดัชนีบ่งชี้ (Forex
Indicator) มาคำนวณหาค่าเฉลี่ยก็ย่อมทำได้
การคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ มีการปรับปรุงอย่างมากมายในประมาณว่าคิดต่อกันไปเรื่อยๆ
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ที่ยังเห็นนิยมใช้กันอยู่ในตลาด Forex
มีดังนี้
1.
Simple Moving Average (SMA)
2.
Exponential Moving Average (EMA)
3.
Double Exponential Moving Average (DEMA)
4.
Triple Exponential Moving Average (TEMA)
5. Weighted Moving Average (WMA)
และอื่นๆ อีกมากมาย
ตลาด Forex ในปัจจุบัน
มักจะพบเห็นการเรียนการสอนกันอยู่เพียงสองชนิดคือ Simple Moving Average
(SMA) กับ Exponential Moving Average (EMA) ดังนั้นจึงจะขออธิบายขยายความเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้นกับสองชนิดนี้
เพราะเมื่อเข้าใจแล้วจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้เอง
Simple Moving Average (SMA) คือ การคำนวณหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย
โดยนำเอาผลรวมของราคาอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงที่กำหนด
จากนั้นนำมาหารด้วยจำนวนข้อมูลของอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงที่กำหนด โดยให้น้ำหนักข้อมูลของราคาอัตราแลกเปลี่ยนในแต่ละข้อมูลเท่ากัน
คือไม่มีข้อมูลอันไหนสำคัญไปกว่ากันนั่นเอง
ยกตัวอย่างเช่น เราเทรด EUR/USD ช่วงข้อมูลที่เราสนใจคือ
5 วัน เราจะสามารถคำนวณหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (SMA)
ได้ดังนี้
SMA
= (ผลรวมของราคาอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงที่กำหนด) /
จำนวนข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ในช่วงที่กำหนด
SMA
= (EUR1+ EUR2+ EUR3+ EUR4+ EUR5) / 5
Exponential Moving Average (EMA)
คือ การคำนวณหาค่าเฉลี่ยของราคาอัตราแลกเปลี่ยน
โดยมีการถ่วงน้ำหนักข้อมูลที่ใกล้กับปัจจุบันมากที่สุด หมายความว่าข้อมูลยิ่งเก่ายิ่งให้ความสำคัญลดลงไป
โดยค่าเฉลี่ยตัวนี้เรียกว่าการคำนวณหาค่าเฉลี่ยอย่างยาก
เพราะยากที่จะมานั่งคำนวณด้วยมือ ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยก่อน
แต่ในปัจจุบันเรามีระบบคอมพิวเตอร์ จึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
วิธีการคำนวณเบื้องต้น
EMA
(วันปัจจุบัน) = EMA (วันก่อน) + Multiplier
x (ราคาปิดปัจจุบัน – (EMA (วันก่อน)))
Multiplier
= ค่าตัวคูณปรับความเรียบ = 2 / (จำนวนวัน + 1)
EMA
(วันก่อน) = SMA
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น